แพลตฟอร์ม "ACT AI" หรือที่เรียกว่า "เครื่องมือสู้โกง" ขององค์กรต่อต้านการคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ซึ่งรวบรวมข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ที่ถือเป็นข้อมูลสาธารณะ แต่ประชาชนเข้าถึงยาก มาไว้ที่นี่ และเปิดให้สามารถเข้าไปค้นหาข้อมูล เพื่อดึงให้ประชาชนที่ตื่นตัวเรื่องคอร์รัปชั่น ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสอดส่อง ตรวจสอบ และนำไปสู่การปราบโกงได้
5 ปี แผนต้านโกงยังห่างไกลเป้าหมาย
10 คำตอบ หลังถาม “ChatGPT” ว่าตัวมันเองจะปฏิวัติอะไรบนโลกได้บ้าง?
ผศ.ต่อภัสสร์ ยมนาค ผู้ร่วมก่อตั้งแฮนด์ โซเชียล เอนเตอร์ไพร์ส ให้ข้อมูลว่า โดยฐานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างที่ ACT AI รวบรวมไว้ เป็นข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ปัจจุบันมีทั้งหมด 27 ล้านโครงการ ที่เผยให้เห็นข้อมูลตั้งแต่สัญญาโครงการ เจ้าของหน่วยงาน งบประมาณ วิธีการจัดหา บริษัทที่ร่วมประมูล ผู้ชนะการประมูล และยังพยายามจะเชื่อมโยงฐานข้อมูลการจดทะเบียนบริษัท หรือ กรรมการบริษัทว่า มีความสัมพันธ์กับนักการเมือง ข้าราชการการเมืองคนไหน ที่จะทำให้การจัดซื้อสุ่มเสี่ยงทุจริต หรือฮั้วประมูลหรือไม่ ซึ่งจะมีระบบที่ช่วยตรวจจับ เป็นสัญลักษณ์สีเหลืองเตือน
มีตัวอย่างโครงการจัดซื้อจัดจ้างที่ ACT AI เข้ามามีบทบาทในการตรวจจับ เฝ้าระวังการทุจริต เช่น โครงการจัดซื้อจัดจ้างเสาไฟฟ้าประติมากรรมกินรี ซึ่งฐานข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงชี้ให้ในพื้นที่เห็นว่า ราคาเสาไฟฟ้า ที่หน่วยงานมีการจัดซื้อถึงต้นละหลักแสนบาท สูงกว่าราคาตลาด ประชาชนในพื้นที่จึงส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ จนนำไปสู่การตรวจสอบ
“เช่น เสาไฟฟ้าประติมากรรมกินรี ซึ่งผมก็ไม่ได้บอกว่า มีการโกงเกิดขึ้นนะ แต่แค่บอกว่า มีความสุ่มเสี่ยง เพราะฐานข้อมูลมันทำให้คนในพื้นที่เห็นว่า หน่วยงานที่ซื้อ ซื้อตนละ 100,000 บาท แต่ว่าไปดูนะ ถ้าซื้อออนไลน์ ผมลองไปซื้อมาเองจริงๆ ต้นละ 9,500 บาท ค่าส่งอีก 500 บาท ก็ชัดเจนว่า ราคามันสูงกว่าราคาตลาดจริงๆ เพราะฉะนั้นคนพื้นที่เขาเห็นว่า มีความสุ่มเสี่ยง เขาส่งข้อมูลนี้ไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายในไม่กี่วันเจ้าหน้าที่ก็มาตรวจสอบ เป็นอีกตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่า เมื่อมีข้อมูล มันทำพาไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้จริง” ผู้ร่วมก่อตั้งแฮนด์ โซเชียล เอนเตอร์ไพร์ส ระบุ
ผศ.ต่อภัสสร์ ระบุอีกว่า ก้าวต่อไปของ ACT AI เตรียมจะพัฒนาแพลตฟอร์มให้ประชาชนได้ใช้งานง่ายขึ้น และพัฒนาระบบ AI ให้ฉลาดกว่าเดิม ด้วยการใส่ข้อมูล เช่น คำตัดสินชี้มูลความผิด ให้ระบบได้เรียนรู้ เพื่อตรวจจับความสุ่มเสี่ยง หรือช่องโหว่ที่จะทำให้เกิดทุจริตในรูปแบบต่างๆ แล้วแจ้งเตือน เฝ้าระวังการทุจริต
“เราต้องทำให้มันมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้ใช้งานใช้งานได้อย่างง่ายดายมากขึ้น และที่สำคัญมันต้องเป็น AI จริงๆ มันต้องฉลาดมากขึ้น เราอาจจะไปทำคำตัดสินชี้มูลความผิดของป.ป.ช. คำตัดสินพิพากษาของศาลทุจริต เอามาให้เรียนรู้ ให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้ ถ้ามีรูปแบบแบบนี้ แปลว่า มีความสุ่มเสี่ยงต่อการโกงนะ เพราะฉะนั้นข้อมูลที่เข้ามาใหม่ ลักษณะคล้ายคลึงอย่างไร” ผู้ร่วมก่อตั้งแฮนด์ โซเชียล เอนเตอร์ไพร์ส กล่าว
แต่ความท้าทายของการจะพัฒนา ACT AI ให้ดีกว่าเดิม ผศ.ต่อภัสสร์ ระบุว่า ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐ ในการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ ซึ่งนี่ถือเป็นโอกาสดี ที่ ACT AI จะเข้ามาช่วยทำให้ภาครัฐ ได้เปิดให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมตรวจสอบ เพื่อยกระดับความโปร่งใส รวมไปถึงหน่วยงานที่ต่อต้านการทุจริต จะมีศักยภาพในการปราบโกงมากขึ้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง