เมื่อเดือน ธ.คคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 2022 นักวิทยาศาสตร์จากห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอว์เรนซ์ ลิเวอร์มอร์ (LLNL) ของสหรัฐฯ ประสบความสำเร็จครั้งแรกในการทดลองสร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน (Nuclear Fusion) จนได้พลังงานสุทธิมากกว่าพลังงานที่ใช้ เปิดประตูสู่การสร้างแหล่งพลังงานอันแทบจะไร้ขีดจำกัด
ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันคือ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่ออะตอมของธาตุเบา เช่น ไฮโดรเจน รวมตัวกัน กลายเป็นอะตอมธาตุที่หนักกว่า ซึ่งระหว่างกระบวนการนี้จะมีการปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมา
เริ่มเดินเครื่องทดลอง! ปฏิกรณ์นิวเคลียร์ฟิวชันใหญ่ที่สุดในโลก
จีนเริ่มเดินเครื่อง “เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เจน 4” เครื่องแรกของโลก
วิธีการที่ LLNL ใช้คือ “ฟิวชันจำกัดแรงเฉื่อย” โดยการยิงเลเซอร์พลังงานสูงเข้าไปพร้อมกันในกระบอกสูบที่บรรจุไฮโดรเจน เพื่อทำให้เกิดการรวมอะตอมและปล่อยพลังงานออกมา
ซึ่งสำหรับปี 2023 ที่กำลังจะสิ้นสุดลงนี้ LLNL ก็ได้ออกมาเปิดเผยว่า ปีนี้ พวกเขาได้ยิงเลเซอร์เกือบ 200 ครั้งใส่กระบอกบรรจุไฮโดรเจน และประสบความสำเร็จในการสร้างพลังงงานสุทธิอย่างน้อย 3 ครั้ง
ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์จะนับว่าการทดลองสำเร็จเฉพาะเมื่อการทดลองได้พลังงานสุทธิ (Net Energy Gain) ออกมาเท่านั้น
ต้องทำความเข้าใจว่า พลังงานตั้งต้นที่ต้องใช้ในกระบวนการรวมอะตอมนั้นสูงมาก ทำให้พลังงานที่ได้จากฟิวชันนั้นมากกว่าพลังงานที่ใช้ในการทำให้มันเกิดฟิวชันแค่นิดเดียวหรือไม่ได้เลย พูดง่าย ๆ คือ ส่วนใหญ่จะได้พลังงานที่เป็น “ผลกำไร” มาแค่นิดเดียว และในกรณีเลวร้ายที่สุดก็คือขาดทุน
แต่ความก้าวหน้าของการศึกษาขณะนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จ ได้พลังงานออกมามากว่าพลังงานที่ใช้ จึงเรียกว่าเป็นการ ได้พลังงานสุทธิ นั่นเอง
อีกเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจและเน้นย้ำมาเสมอคือ กระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชันนี้ แตกต่างจากกระบวนการสร้างพลังงานในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในปัจจุบัน เพราะพวกนั้นจะเป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน (Nuclear Fission)
ฟิชชันจะตรงกันข้ามกับฟิวชัน คือเป็นการแตกตัวของอะตอมธาตุหนักกลายเป็นธาตุ ในกระบวนการนี้จะมีการปล่อยพลังงานออกมาเช่นกัน แต่น้อยกว่ามาก และยังก่อกัมมันตรังสีซึ่งเป็นอันตราย
แต่ฟิวชันนั้นปลอดภัยกว่า และไม่มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุนิวเคลียร์ร้ายแรง
โดยการสร้างพลังงานสุทธิสำเร็จถึง 3 ครั้งของ LLNL ในปีนี้ เป็นความพยายามในการทดลอง “ทำซ้ำ” เพื่อพิสูจน์ว่า กระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชันแบบจำกัดแรงเฉื่อยไม่ได้เกิดจากโชค และเป็นสิ่งที่สามารถทำได้เรื่อย ๆ
ไบรอัน แอปเพลบี นักวิจัยจากศูนย์ศึกษาฟิวชันจำกัดเฉื่อยที่ราชวิทยาลัยลอนดอน กล่าวว่า ความสามารถในการทำซ้ำแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของกระบวนการสร้างพลังงานแบบใหม่ อันจะเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติในอนาคต
แอปเพลบีบอกว่า การทดลองแต่ละครั้งเปิดโอกาสให้ศึกษากระบวนการสร้างพลังงานโดยละเอียด “มันให้ข้อมูลอันมีค่าแก่นักวิทยาศาสตร์ในการจัดการกับความท้าทายต่อไปที่ต้องเอาชนะ นั่นคือหาวิธีเพิ่มพลังงานที่จะได้รับ”
พลังงานที่ผลิตได้ในเดือน ธ.ค. 2022 มีเพียงเล็กน้อย โดยใช้พลังงานประมาณ 2 เมกะจูลและได้พลังงานออกมา 3.15 เมกะจูล ซึ่งเพียงพอที่จะต้มน้ำได้ประมาณ 10 กาต้มน้ำ แต่มันก็เพียงพอแล้วที่จะพิสูจน์ว่า นิวเคลียร์ฟิวชันสามารถสร้างพลังงานได้
ตั้งแต่นั้นมา นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ทำเช่นนี้อีกหลายครั้ง เช่น เมื่อวันที่ 30 ก.ค. ที่ผ่านมา สามารถใช้พลังงาน 2 เมกะจูลสร้างพลังงานได้ 3.88 เมกะจูล ซึ่งเป็นผลผลิตสูงสุดจนถึงปัจจุบัน ขณะที่การทดลอง 2 ครั้งต่อมาในเดือน ต.ค. ก็ให้ผลกำไรสุทธิเช่นกัน
“ผลลัพธ์เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการผลิตพลังงานฟิวชันอย่างต่อเนื่องในระดับหลายเมกะจูล” รายงานระบุ
อย่างไรก็ตาม ยังเป็นหนทางอีกยาวไกลกว่านักวิทยาศาสตร์จะสามารถพัฒนานิวเคลียร์ฟิวชันจนถึงระดับที่เพียงพอต่อการจ่ายพลังงานให้กับโครงข่ายไฟฟ้าและระบบทำความร้อนที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
เรียบเรียงจาก CNN
โตโยต้า เตรียมหยุดขาย-เรียกคืนรถยนต์ 2 รุ่น ในไทยหลังพบความผิดปกติใหม่
พม.เสนอครม.เคาะ 4 แพ็กเกจของขวัญปีใหม่คนพิการ-ผู้สูงอายุ
กางปฏิทินจ่ายเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ บำนาญ ปี 2566